วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คุณธรรม จริยธรรม ที่ควรปลูกฝังแก่นักศึกษา



คุณธรรม  จริยธรรม ที่่ควรปลูกฝังแก่นักศึกษา


         คุณธรรมอันดับแรกที่ควรปลูกฝัง  คือ ความกตัญญู  ซึ่งควรจะได้แสดงออกทั้ง ทางกาย   ทางวาจา  และ ทางใจ  เป็นวัฒนธรรมทางจิตใจ ที่แสดงออกมาด้วยความดีงาม  แต่สิ่งเหล่านี้ กำลังถูกทำลาย ด้วย ความ  รีบเร่ง  จากกระแสวัตถุนิยม และบริโภคนิยม  ที่ไม่ได้คำนึงถึงวัฒนธรรมทางจิตใจ  หากคุณธรรมที่มีอยู่ในจิตใจไม่มั่นคง  สิ่งที่แสดงออกมาจากพฤติกรรมของคน ก็ล้วนเป็นสิ่งจอมปลอมทั้งสิ้น การแสดงออกทางกาย วาจา ใจ ที่มีคุณธรรมเป็นที่ตั้งจึงมีส่วนสำคัญในการกล่อมเกลา จิตใจ ให้มีความอ่อนโยน  สุภาพ นอบน้อม  สุขุม  รอบคอบ  เช่น การกราบไหว้พระแบบเบญจางคประดิษฐ์  ซึ่งเป็นการกราบที่แสดงความเคารพอย่างสูงสุดต่อบุคคลที่ควรเคารพนับถือสูงสุด การวางมือ  การยกมือขึ้น เพื่อให้สติอยู่กับมือ พนมมือที่น่าอกในท่าอัญชลี เป็นการสำรวมใจออกจากปัญหา ที่ว้าวุ่น การยกมือจรดบริเวณหว่างคิ้วในท่าวันทา เป็นการสำรวมกาย สำรวมวาจา  สำรวมใจ  กำหนดจิตให้เป็นสมาธิ  มีความแน่วแน่มั่นคงใน จิตใจ การก้มกราบ ท่าอภิวาท  เป็นการปล่อยใจให้ว่างลง สยบยอมทั้งกายและใจให้กับความดี เป็นการลดอัตตา  ความยึดมั่น ถือมั่นในตัวเอง  ซึ่งท่าทีเหล่านี้ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยรักษาสภาพจิตใจให้ดีงาม การปลูกฝังให้นักศึกษารู้จักพึ่งตนเองอย่างมีศักดิ์ศรี เป็นคนดี มีวินัย  คือ  การปลูกฝังให้นักศึกษาได้มีความคิดเห็นที่ถูกต้อง และ  รู้จักคุณค่าของตัวเอง ไม่มีชนชาติใดในโลกที่มีความเจริญ  งอกงาม มั่นคงอยู่ได้ เพราะการรอรับการช่วยเหลือ ของผู้อื่น โดยไม่พึ่งตนเอง

คุณธรรมจริยธรรมของครู


คุณธรรมจริยธรรมของครู


วินัยคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู

วินัยคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู



                  การประเมินวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะ(ชำนาญการพิเศษ) จะประเมินใน 6 เรื่อง ได้แก่
                  1.พฤติกรรมการรักษาระเบียบวินัย ได้แก่ การควบคุมการประพฤติปฏิบัติของตนเองให้อยู่ในกฎระเบียบของหน่วยงานและสังคมในกรณีมีความรับผิดชอบและซื่อตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดถือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ
                  2.การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ได้แก่ พฤติกรรมการปฏิบัติทั้งพฤติกรรมส่วนตนและพฤติกรรมการปฏิบ้ติงาน ทั้งในเรื่องความสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
                  3.การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ได้แก่ การประพฤติปฎิบัติตนในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเพียง การหลีกเลี่ยงอบายมุข การรู้รักสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
                  4.ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ได้แก่ ความพึงพอใจและอุทิศเวลาในการปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ โดยมุ่งผลสำเร็จที่เป็นความเจริญก้าวหน้าของการจัดการศึกษา
                  5.ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ได้แก่ การปฏิบัติงานในหน้าที่โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความซื่อสัตย์สุจริต และผลประโยชน์ของหน่วยงานและผู้รับบริการเป็นสำคัญ
                  6.ค่านิยม และอุดมการณ์ของความเป็นครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ 


ประวัติพระพุทธเจ้า





ประวัติพระพุทธเจ้า


          "ศาสนาพุทธ" เป็นศาสนาประจำชาติไทยของเรา แล้วมีสักกี่คนเอ่ย...ที่ทราบถึงประวัติของ "พระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ผู้ทรงเป็น "พระศาสดา" ของ "พระพุทธศาสนา" วันนี้กระปุกจึงนำเรื่องราวพุทธประวัติ หรือ ประวัติพระพุทธเจ้า มาฝากกันค่ะ

          พระพุทธเจ้าทรงมีพระนามเดิมว่า "สิทธัตถะ" หมายถึง ผู้ที่สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว หรือผู้ปรารถนาสิ่งใด ย่อมได้สิ่งนั้น ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ และ "พระนางสิริมหามายา" พระราชธิดาของกษัตริย์ราชสกุลโกลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ

          ในคืนที่พระพุทธเจ้าเสด็จปฏิสนธิในครรภ์พระนางสิริมหามายา พระนางทรงพระสุบินนิมิตว่า มีช้างเผือกมีงาสามคู่ได้เข้ามาสู่พระครรภ์ ณ ที่บรรทม ก่อนที่พระนางจะมีพระประสูติกาล ที่ใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน เมื่อวันศุกร์ ขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนวิสาขะ ปีจอ 80 ปีก่อนพุทธศักราช (ปัจจุบันสวนลุมพินีวันอยู่ในประเทศเนปาล)
          ทันทีที่ประสูติ เจ้าชายสิทธัตถะทรงดำเนินด้วยพระบาท 7 ก้าว และมีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับพระบาท พร้อมเปล่งพระวาจาว่า ครั้งสุดท้ายของ"เราเป็นเลิศที่สุดในโลก ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นเรา" แต่หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะประสูติกาลได้แล้ว 7 วัน พระนางสิริมหามายาก็เสด็จสวรรคาลัย เจ้าชายสิทธัตถะจึงอยู่ในความดูแลของพระนางประชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นพระกนิษฐาของพระนางสิริมหามายา 

          ทั้งนี้ พราหมณ์ ทั้ง 8 ได้ทำนายว่า เจ้าชายสิทธัตถะมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ คือ หากดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น ยืนยันหนักแน่นว่า พระราชกุมารสิทธัตถะจะเสด็จออกบวช และจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน



 ประวัติพระพุทธเจ้า : ชีวิตในวัยเด็ก

          เจ้าชายสิทธัตถะทรงศึกษาเล่าเรียนจนจบศิลปศาสตร์ทั้ง 18 ศาสตร์ ในสำนักครูวิศวามิตร และเนื่องจากพระบิดาไม่ประสงค์ให้เจ้าชายสิทธัตถะเป็นศาสดาเอกของโลก จึงพยายามทำให้เจ้าชายสิทธัตถะพบเห็นแต่ความสุข โดยการสร้างปราสาท 3 ฤดู ให้อยู่ประทับ และจัดเตรียมความพร้อมสำหรับการราชาภิเษกให้เจ้าชายขึ้นครองราชย์

          เมื่อมีพระชนมายุ 16 พรรษา ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางพิมพา หรือยโสธรา พระธิดาของพระเจ้ากรุงเทวทหะซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพระมารดา จนเมื่อมีพระชนมายุ 29 พรรษา พระนางพิมพาได้ให้ประสูติพระราชโอรส มีพระนามว่า "ราหุล" ซึ่งหมายถึง "บ่วง"



 ประวัติพระพุทธเจ้า : เสด็จออกผนวช



ประวัติพระพุทธเจ้า


          วันหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะทรงเบื่อความจำเจในปราสาท 3 ฤดู จึงชวนสารถีทรงรถม้าประพาสอุทยาน ครั้งนั้นได้ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช โดยเทวทูต (ทูตสวรรค์) ที่แปลงกายมา พระองค์จึงทรงคิดได้ว่า นี่เป็นธรรมดาของโลก ชีวิตของทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ จึงทรงเห็นว่าความสุขทางโลกเป็นเพียงภาพมายาเท่านั้น และวิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ คือต้องครองเรือนเป็นสมณะ ดังนั้นพระองค์จึงใคร่จะเสด็จออกบรรพชา ในขณะที่มีพระชนม์ 29 พรรษา
          ครานั้นพระองค์ได้เสด็จไปพร้อมกับนายฉันทะ สารถี ซึ่งเตรียมม้าพระที่นั่ง นามว่ากัณฑกะ มุ่งตรงไปยังแม่น้ำอโนมานที ก่อนจะประทับนั่งบนกองทราย ทรงตัดพระเมาลีด้วยพระขรรค์ และเปลี่ยนชุดผ้ากาสาวพัตร์ (ผ้าย้อมด้วยรสฝาดแห่งต้นไม้) และให้นายฉันทะ นำเครื่องทรงกลับพระนคร ก่อนที่พระองค์จะเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ (การเสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่) ไปโดยเพียงลำพัง เพื่อมุ่งพระพักตร์ไปยังแคว้นมคธ